Powered By Blogger

Sunday, February 16, 2020

การบัญชี (การบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่)











การบัญชีเบื้องต้น (หมวดบัญชี)





        หมวดที่ 1 สินทรัพย์  (Assets) หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนอันมีมูลค่า ซึ่งบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของหรือสามารถถือเอาประโยชน์ได้จาก กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องมูลค่าที่ได้มา รายจ่ายที่เกิดสิทธิ และรายจ่ายของงวดบัญชีถัดไป
สินทรัพย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
         1.  สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง สามารถจะเปลี่ยนเป็นเงินสด เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร เป็นต้น หรือสินทรัพย์อื่นที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว โดยปกติจะไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินรับ  ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เป็นต้น
2.  สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non – Current Assets)  หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยเร็วซึ่งมีระยะเวลามากกว่า 1 ปี เช่น เงินลงทุนระยะยาว เงินให้กู้ยืมระยะยาวและการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ เป็นต้น สินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) หรือเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน มีลักษณะการใช้งานที่คงทน และมีอายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 ปี เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์  รถยนต์ เป็นต้น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างไม่สามารถจับต้องได้ทางกายภาพ แต่สามารถตีราคาให้มีมูลค่าเป็นเงินตรา และถือกรรมสิทธิ์ได้ เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ค่าความนิยม เป็นต้น

        หมวดที่ 2  หนี้สิน (Liability)  หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่ต้องจ่ายชำระคืนแก่บุคคลภายนอกในอนาคต ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ เงินเบิกเกินบัญชี เจ้าหนี้จำนอง เป็นต้น หนี้สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
         1.  หนี้สินหมุนเวียน  (Current Liabilities)  หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการต้องชำระคืนภายในระยะเวลา  ไม่เกิน 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินกู้ยืมจากธนาคารระยะสั้น ตั๋วเงินจ่าย   เป็นต้น
2.  หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non – Current  Liabilities)  หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนิน งานตามปกติของกิจการ เช่น  เงินกู้ระยะยาว   หุ้นกู้      พันธบัตรเงินกู้  เป็นต้น

         หมวดที่ 3    ส่วนของเจ้าของ (ทุน)  (Owner’s equity)  หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สิน  ทั้งสินออกแล้ว กรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกิจการมีในสินทรัพย์ เรียกว่า สินทรัพย์สุทธิ (สินทรัพย์ – หนี้สิน) ส่วนของเจ้าของกิจการแบ่งได้ 3 ประเภท
           1.กิจการเจ้าของคนเดียว
2.ห้างหุ้นส่วน
3.บริษัทจำกัด

         หมวดที่ 4 รายได้   income  หมายถึง ผลตอบแทนที่กิจการได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการตามปกติของกิจการรวมทั้ง ผลตอบแทนอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ รายได้แบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.รายได้จากการขาย (Sale revenue) หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือบริการอันเป็นรายได้จากการดำเนินงานตาม ปกติ เช่น กิจการซื้อขายสินค้ารายได้ของกิจการ คือ รายได้จากการขายสินค้า ส่วนกิจการให้บริการ เช่นซ่อมเครื่องไฟฟ้า รายได้ของกิจการ คือ รายได้ค่าซ่อม /รายได้ค่าบริการ
2.รายได้อื่น (Other incomes) หมายถึง รายได้ที่มิได้เกิดจากการดำเนินงาน
ตามปกติของกิจการซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่ใช้ รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ

          หมวดที่ 5 ค่าใช้จ่าย expenses หมายถึง ต้นทุนส่วนที่หักออกจากรายได้ในรอบระยะเวลาที่ดำเนินการงานหนึ่ง ค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ต้นทุนขาย (Cost of sales) หมายถึง ต้นทุนของสินค้าที่ขายหรือบริการที่ให้ กล่าวคือในกิจการซื้อเพื่อขาย ต้นทุนของสินค้าที่ขายจะรวมราคาซื้อและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย ส่วนในกิจการผลิตเพื่อขายต้นทุนของสินค้าที่ขายคือ ต้นทุนการผลิตของสินค้านั้น ซึ่งประกอบด้วย ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานและโสหุ้ยการผลิต
2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Operating expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอันเองมาจากการขายสินค้าหรือบริการ และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบริหารกิจการอันเป็นส่วนรวมของการดำเนินงาน
          3. ค่าใช้จ่ายอื่น (Other expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่จัดเข้าเป็นต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่นดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้
     ค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจขายสินค้า จะประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายอื่น สำหรับธุรกิจขายบริการค่าใช้จ่ายจะประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายอื่นเท่านั้น

การบัญชีเบื้องต้น (ความหมายการบัญชี Accounting)



บัญชีเบื้องต้นสำหรับกิจการบริการ (มัธยมศึกษาตอนต้น)

สรุปความหมายการบัญชี Accounting










Tuesday, July 30, 2019

อาหารสำรับ (2) อาหาร 4 ภาค


อาหาร 4 ภาค
อาหารภาคเหนือ
ด้วยลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือนั้นจะตั้งอยู่ใกล้กับประเทศ พม่า เวียดนาม และยังเคยเป็นอาณาจักรล้านนามาก่อน จึงทำอาหารภาคเหนือนั้นได้รับอิทธิพลมาจากประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงมาเป็นอย่างมาก
อาหารทางภาคเหนือจะมีรสชาติอ่อนกว่าอาหารภาคอื่นๆ อาหารภาคเหนือจะมีรสชาติไม่จัดจ้านเหมือนภาคอื่นๆ คนที่อยู่ภาคเหนือจะรับประทานอาหารที่มีรสชาติกลางๆไม่เน้นไปทานใดทางหนึ่งเช่นไม่เปรี้ยว ไม่เค็ม ไม่หวานหรือจืดเกินไป เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาประกอบเมนูอาหารได้แก่เนื้อหมู เนื้อไก่
อาหารขึ้นชื่อทางภาคเหนือที่เรามักจะได้พบเห็นได้แก่ เมนูน้ำพริก เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแดง น้ำพริกอ่อง แกงโฮะ แกงฮังเล หรือไส้อั่ว จิ้นปิ้ง แหนม อาหารเหล่าเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะนิยมทานกับผักต้มจะเข้ากันได้ดี 

อาหารภาคใต้
อาหารภาคใต้จะเป็นอาหารที่มีชาติของอาหารจาก มาลายู ภาคกลางและจีน มีรสชาติเผ็ดและเค็ม อาหารภาคใต้ส่วนใหญ่นั้นมักเป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยปลา หรือสัตว์ทะเลชนิดอื่นๆ และมีผงขมิ้นในส่วนประกอบเมนูอาหาร เพื่อลดความคาวของสัตว์ทะเลที่นำมาประกอบอาหารนั้นเอง รสชาติของอาหารภาคใต้นั้นจะเผ็ดจัด เค็มเปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน เช่นแกงไตปลา แกงพริก เป็นต้น
อาหารภาคใต้จะมีรสชาติเผ็ดที่สุดในบรรดาภาคอื่นๆเมนูอาหารที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ ได้แก่ แกงไตปลา แกงเหลือง จำพวกเมนูเครื่องจิ้มได้แก่ น้ำบูดูที่น้ำมารับประทานกับข้าวยำ และที่พลาดไม่ได้คือ ผัดสะตอ เป็นเมนูที่ขึ้นชื่อของภาคใต้เราเลยทีเดียว 

อาหารภาคกลาง
อาหารภาคกลาง รสชาติจะมีทั้งหวาน เปรี้ยว เค็ม และเผ็ด มัน รสชาติจัดจ้านลงตัว กลมกล่อมลงตัวการผสมผสานของรสชาติอาหารภาคกลางนั้นจะใช้ส่วนผสมแตกต่างกันไปตามแต่ละเมนูส่วนใหญ่จะใช้ทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักทางการเกษตร สามารถนำมาปรุงได้หลากหลายเมนู อาหารภาคกลางนั้นจะมีความประณีตในการตกแต่งอาหารให้ชวนรับประทาน การนำผัก แตงกวา ผักชี หรือต้นหอมมาตกแต่งหน้าจานอาหารให้ดูน่ารับประทานมายิ่งขึ้นนั้นแสดงให้เห็นถึงรูปลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ภาคกลางที่สามารถจัดหาพืชผักมาจัดวางเพิ่มความสวยงามในเมนูอาหารนั้นๆได้มากขึ้น
เมนูอาหารภาคกลาง โดยทั่วไปจะ มีรสหวานนำเล็กน้อยให้ติดปลายลิ้น การรับประทานอาหารของภาคกลางนั้นส่วนใหญ่จะรับประทานคู่กับข้าวสวยเป็นหลังไม่ว่าจะมีกับข้าวเป็นเมนูใดก็ตาม 

อาหารภาคอีสาน
ภาคอีสานเป็นภาคที่ค่อนข้างแห้งแล้ง วัตถุดิบที่นำมาประกอบอาหารจะเป็นแหล่งอาหารซึ่งหาได้ตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลา แมลงบางชนิด พืชผักต่าง ๆ การนำวิธีการถนอมอาหารมาใช้เพื่อรักษาอาหารไว้กินนาน ๆ จึงเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีพของคนอีสาน
อาหารอีสาน ส่วนใหญ่จะมีรสชาติติดเค็มหรือเผ็ด เพราะส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอาหารฝั่งประเทศลาว ด้วยสภาพภูมิประเทศที่แห้งแล้งของภาคอีสาน จึงทำให้คนในภูมิภาคอีสานนั้นหาปลาหรือสัตว์ และผักพืชที่หาได้ง่ายๆมาปรุงอาหาร อาหารหลักของภาคอีสานนั้นจะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก รับประทานคู่กับเมนูต่างๆไม่ว่าจะเป็นปิ้ง ย่าง ต้ม หรือเมนูคลุกเคล้า เช่น ปลาย่าง ไก่ย่าง ต้มแซ่บ ลาบ และเมนูอื่นๆอีกมากมาย แต่จะเน้นเอาสัตว์ที่พอหาได้ตามท้องถิ่นนั้นๆ และพลาดไม่อาหารที่ปรุงนั้นต้องมีรสจัด