Powered By Blogger

Tuesday, October 30, 2018

การขยายพันธ์ุพืชแบบไม่อาศัยเพศ


การขยายพันธ์ุพืชแบบไม่อาศัยเพศ  โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของพืช
       การขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเป็นการขยายพันธ์ุพืชแบบไม่อาศัยเพศ Asexual Propagation) ไม่ใช้เมล็ดแต่ใช้ส่วนอื่นของพืชแทน เช่น ส่วนราก ส่วนกิ่ง ส่วนใบ ดังนั้นต้นพืชที่ได้จากการขยายพันธ์ุแบบนี้จะให้ผลผลิตเหมือนพันธ์ุเดิม ไม่กลายพันธ์ุ
1. การตัดชำ (Cutting) ารทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดราก หลังจากที่ตัดกิ่งหรือต้นออกมาจากต้นแม่แล้ว การตัดชำเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชแบบหนึ่ง ซึ่งนิยมทำกับพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับ เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็อาจใช้กับการขยายพันธุ์ไม้ผลบ้างบางชนิด แบบต่างๆ ของการตัดชำ (types of cuttings) เราอาจจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นพืช นอกเหนือจากดอกหรือผลมาตัดชำได้ เช่น อาจจะใช้ต้น กิ่ง ราก หรือใบ ดังนั้นแบบของการตัดชำจึงขึ้นอยู่กับส่วนของพืช ที่จะนำมาตัดชำ ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการตัดชำโดยใช้ต้นเท่านั้น


https://www.youtube.com/watch?v=fo7lNtgWUHM


2. การตอนกิ่ง (LAYERING) การตอนเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ เมื่อตัดไปปลูกจะได้ต้นพืชใหม่ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ แต่มีข้อเสียคือ ระบบรากของพืชไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากไม่มีระบบรากแก้ว
https://www.youtube.com/watch?v=egSO13uG4AI

3. การติดตา (BUDDING)
การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่ใช้กิ่งพันธุ์ดีน้อย สะดวกรวดเร็ว และสามารถนำกิ่งพันธุ์ดีจากแหล่งหนึ่งไปทำการติดตาอีกแหล่งหนึ่งได้ แต่อาจต้องใช้เวลาในการบังคับและเลี้ยงตาใหม่ให้เป็นต้นพืชนานกว่าการทาบกิ่ง ผู้ที่จะทำการขยายพันธุ์ด้วยการติดตาได้ต้องอาศัยความชำนาญและประมาณจึงจะได้ผลดี 


https://www.youtube.com/watch?v=DiKrIzBaJCY


https://www.youtube.com/watch?v=dFv-rAc1-BU



4. การทาบกิ่ง (GRAFTING) การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ให้ได้ต้นพันธุ์ที่ให้ได้ต้นพันธุ์ดีซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่วิธีหนึ่ง โดยกิ่งพันธุ์ดีจะทำหน้าที่เป็นลำต้นของต้นพืชใหม่ ส่วนต้นตอที่นำมาทาบติดกับกิ่งของต้นพันธุ์ดีจะทำหน้าที่เป็นระบบราก เพื่อหาอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี 
https://www.youtube.com/watch?v=QqkqLSIXrJ4



https://www.youtube.com/watch?v=hopM7QX7P4g


ที่มาของเนื้อหา: https://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/17/nk17k8.htm


5.การต่อกิ่ง (GRAFTING)

การต่อกิ่ง  เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศที่สามารถทำได้โดยการนำกิ่งพันธุ์ดีที่มีตามากกว่า  1  ตา มาต่อบนต้นตอ เพื่อให้เนื้อเยื่อเจริญทั้งสอง เชื่อมประสานเป็นต้นเดียวกัน  การขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่อกิ่ง จะดีกว่าการติดตามาก เพราะจะได้รอยต่อที่แข็งแรงกว่ามาก การต่อกิ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลาย และได้ผลดีกับพืชบางชนิด  เช่น  เฟื่องฟ้า  ชบา  โกสน  เล็บครุฑ  มะม่วง พุทรา ขนุน องุ่น  ฯลฯ
ความมุ่งหมายที่สำคัญของต่อการกิ่งพืช คือ เพื่อต้องการเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของพืชที่เป็นต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเข้าด้วยกัน ให้มีชีวิตและเจริญเติบโตร่วมกัน เสมือนเป็นพืชต้นเดียวกัน  ทั้งนี้  การต่อกิ่งพืช สามารถเลือกทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช  ฤดูกาลและความชำนาญของผู้ต่อกิ่ง
การต่อกิ่งมีคุณค่าและความสำคัญต่อวงการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลมาก ซึ่งเห็นได้ชัดเจน  ได้แก่ การเพิ่มและช่วยเปลี่ยนยอดพันธุ์เดิมที่ปลูกอยู่แล้ว ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  เช่น  การเพิ่มยอดกิ่งเฟื่องฟ้าให้มีหลากหลายสี การเปลี่ยนยอดต้นโมกเขียวให้เป็นโมกด่าง   การเปลี่ยนยอดมะม่วงให้เป็นมะม่วงแฟนซี คือมีหลายพันธุ์ในต้นเดียวกัน  นอกจากนี้ การต่อกิ่ง ยังเป็นการช่วยซ่อมแซมส่วนของต้นพืชที่ได้รับอันตรายจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ   รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากต้นตอที่มีลักษณะทนทานต่อสภาพแวดล้อมและศัตรูพืช
 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการต่อกิ่ง 
1) พืชที่นำมาเสียบเข้าด้วยกันต้องเป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่อาจต่างพันธุ์กันได้
2) กิ่งพันธุ์ดีจะต้องมีความสดอยู่เสมอ  ซึ่งควรเก็บรักษาไว้ในห้องเย็น
3) รอยแผลที่ทำการเสียบจะต้องแนบกันสนิทให้เนื้อเยื่อเจริญของพืชทั้งสองส่วนสัมผัสกันมากที่สุด เพื่อจะได้เชื่อมประสานกันได้รวดเร็ว
4) เลือกตาพันธุ์ที่กำลังพักตัว คือ พร้อมที่จะแตกยอดใหม่
5) ใช้แถบพลาสติกพันทับรอยเชื่อม ไม่ให้น้ำและเชื้อโรคเข้าได้
6) รอยแผลจะต้องรักษาความสะอาดให้มากที่สุด    ระวังอย่าให้สัมผัสน้ำหรือความชื้น มากเกินไป
7) ลิดใบพันธุ์ดีทิ้ง และใช้พลาสติกคลุม ป้องกันการคายน้ำ และรักษาความชื้น
ข้อควรพิจารณาในการต่อกิ่ง    ได้แก่
1) การเลือกต้นตอ  จะต้องให้มีขนาดเหมาะสมกับกิ่งพันธุ์ดี  มีความแข็งแรงปราศจากศัตรูพืช  มีระบบรากแข็งแรง และหาง่าย ราคาถูก
2) การเลือกกิ่งพันธุ์  ควรเป็นกิ่งที่สมบูรณ์  แข็งแรง มีตา ที่ไม่ใช่ตาดอก โดยปกติ ส่วนมากจะเลือกกิ่งที่มีอายุ  1  ปี หรือน้อยกว่า
3) การเตรียมต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี  ในการเฉือนแผลต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี  ควรจะให้รอยแผลเรียบ และไม่ช้ำ (เกิดจากการผ่าหรือเฉือนหลายครั้ง จึงต้องมีความชำนาญในการเฉือนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีช้ำ)
4) การป้องกันเชื้อโรค  การทำให้เกิดบาดแผลแก่ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี เป็นช่องทางที่ทำให้เกิดเชื้อโรค จึงต้องระวังในเรื่องของความสะอาดโดยเฉพาะ มีดต้องสะอาดและคม
5) การวางแนวเยื่อเจริญระหว่างต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ต้องอยู่ในแนวเดียวกันเพื่อให้รอยประสานเกิดได้เร็วขึ้น
6) การบังคับให้กิ่งพันธุ์ดีเติบโต ภายหลังต่อกิ่ง  จะต้องทำการบังคับ เพื่อป้องกันการลำเลียงออกซิเจนจากกิ่งยอด ลงมายังกิ่งข้าง ทำให้เกิดลักษณะที่ตายอด ข่มตาข้าง โดยการบากเหนือรอยต่อให้ลึกถึงเนื้อไม้
7) ฤดูกาลที่เหมาะสำหรับต่อกิ่ง ควรเป็นระยะที่พืชมีเจริญเติบโตดี  โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว  รองลงมา คือ กลางฤดูฝน

 เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อกิ่ง
1)  ส่วนของพืชที่จะขยายพันธุ์ คือ กิ่งพันธุ์ดี
2)  ส่วนของพืชที่เป็นระบบราก คือ ต้นตอ
3)  มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์  กรรไกรตัดแต่งกิ่ง  พลาสติกพันกิ่ง
4)  วัสดุที่ใช้ในการคลุมกิ่ง เช่น เชือก ถุงพลาสติกขนาดเล็ก ถุงกระดาษคลุมกิ่ง

วิธีการต่อกิ่งที่นิยม   วิธีการต่อกิ่งมีหลากหลายรูปแบบ  ซึ่งแต่ละวิธีมีความเหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน  แต่ที่ชาวสวนหรือผู้ประกอบการผลิตพันธุ์ไม้ปฏิบัติมาก เพราะสามารถทำได้ง่ายและได้รับความสำเร็จสูง โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผล  วิธีที่นิยม  ได้แก่
1) การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม
2) การต่อกิ่งแบบฝานบวบ
3) การต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น
4) การต่อกิ่งเสียบข้าง
5) การต่อกิ่งเสียบเปลือก     

1) การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม  พันธุ์ไม้ที่นิยม เช่น เฟื่องฟ้า โกสน น้อยหน่า ทับทิม มีขั้นตอน  ดังนี้

   (1) ตัดยอดต้นตอที่แตกใหม่ ให้เหลือยาวประมาณ นิ้ว แล้วผ่ากลางกิ่งพืชที่ต้องการเสียบยอด ให้ลึกประมาณ นิ้ว
   (2) เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่ม ยาวประมาณ นิ้ว
   (3) เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลทั้งสองตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบนและล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น
   (4) คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติกหรือนำไปเก็บในโรงอบพลาสติก (ถ้าต้นพืชที่ทำการเสียบยอดอยู่กลางแจ้งควรใช้ถุงกระดาษเล็กหุ้มก่อน เพื่อป้องกันความร้อน)
   (5) ประมาณ 5-7 สัปดาห์รอยแผลจะประสานกันดีแล้วให้นำออกมาพักไว้ในโรงเรือนที่รอการปลูกต่อไป

2) การต่อกิ่งแบบฝานบวบ  พันธุ์ไม้ที่นิยม  ได้แก่ประเภทไม้อวบน้ำ และไม้เนื้ออ่อน  เช่น  ฤาษีผสม  แค็คตัสชนิดต่าง ๆ    มะเขือเทศ  ฟักทอง  มะละกอ  แตงชนิดต่าง ๆ  เป็นต้น 

มีขั้นตอน  ดังนี้
(1) เฉือนต้นตอให้เฉียงขึ้น เป็นลักษณะเช่นเดียวกับฝานบวบ  ให้ความยาวของรอยเฉือน  ประมาณ  1 – 1.5  นิ้ว  รอยแผลที่ได้จะมีลักษณะคล้ายโล่
(2) เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับต้นตอ  แต่เฉือนลง (ตรงข้ามกับต้นตอ)
(3) นำกิ่งพันธุ์ดี ประกบเข้ากับต้นตอ  โดยให้รอยแผลประกบกันให้สนิท
(4) ใช้แถบพลาสติกพันรอบรอยแผลให้แน่น  โดยพันจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน
(5) หลังจากกิ่งเชื่อมประสานกันดีแล้ว  ให้แกะพลาสติกออก เพื่อให้ต้นพืชเจริญเติบโตและขยายออกได้เต็มที่

3) การต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น    นิยมต่อกิ่งกับพันธุ์ไม้ประเภทอวบน้ำและเนื้ออ่อน เช่นเดียวกับการต่อกิ่งแบบฝานบวบ 

มีขั้นตอน  ดังนี้
(1) เฉือนต้นตอเฉียงขึ้นในลักษณะการฝานบวบ  ให้รอยแผลยาวประมาณ 1 – 1.5  นิ้ว
(2) ผ่ารอยแผลให้มีลักษณะเป็นลิ้น
(3) เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉียงลง  ลักษณะและขนาดรอยแผลเช่นเดียวกับต้นตอ
(4) ผ่ารอยแผลกิ่งพันธุ์ดี ให้มีลักษณะเป็นลิ้น
(5) นำกิ่งพันธุ์ดี สวมลงบนต้นตอให้ลิ้นขัดกัน
(6) ใช้คลิปหนีบหรือพันด้วยพลาสติก
(7) หลังจากรอยแผลของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ประสานเชื่อมติดกันสนิทแล้ว (ประมาณ เดือน)  หลังจากต่อกิ่ง  ให้เอาคลิปหรือแกะพลาสติกออก 

4) การต่อกิ่งเสียบข้าง  พืชที่นิยมทำได้แก่ไม้ดอกไม้ประดับ  เช่น  โกสน  เล็บครุฑ  สนชนิดต่าง ๆ   โป๊ยเซียน   ฯลฯ  และไม้ผล  เช่น  ขนุน  กระท้อน  ฯลฯ   

มีขั้นตอน  ดังนี้
(1) เฉือนต้นตอจากปลายไปสู่โคน  โดยเฉือนลึกเข้าไปในเนื้อไม้เล็กน้อย  ให้แผลยาวประมาณ  1.5 – 2  นิ้ว
(2) ตัดยอดกิ่งพันธุ์ดี ยาวประมาณ  2 – 3 นิ้ว  เฉือนให้เป็นรูปปากฉลาม  รอยแผลยาวประมาณ  1.5 – 2  นิ้ว  เฉือนด้านหลังของรอยแผล เพื่อให้แผลมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม
(3) นำยอดกิ่งพันธุ์ดี เสียบเข้ารอยแผลของต้นตอ  จัดให้รอยแผลแนบสนิทกัน  โดยจัดให้ส่วนของเนื้อเยื่อเจริญของกิ่งพันธุ์ดีและต้นตอตรงกัน
(4) พันด้วยพลาสติก หุ้มรอยแผลให้แน่น  โดนพันจากล่างขึ้นบน
(5) ประมาณ  2 – 3 สัปดาห์  จึงแกะพลาสติกออก แล้วพันใหม่  โดยเว้นส่วนของยอดกิ่งพันธุ์ดีไว้ เพื่อให้ตาแตกยอดใหม่ออกมาได้
(6) หลังจากกิ่งใหม่เจริญดีแล้ว  จึงตัดยอดเดิมของต้นตอทิ้งไป เพื่อให้ยอดใหม่เจริญได้เต็มที่

5) การต่อกิ่งเสียบเปลือก พันธุ์ไม้ที่นิยมส่วนมากเป็นไม้ผลที่มีเปลือกหนา ล่อน และลอกเปลือกได้ง่าย   ได้แก่  มะม่วง  ขนุน  กระท้อน

มีขั้นตอน  ดังนี้
(1) ตัดต้นตอ ตั้งฉากกับกิ่งบริเวณใต้ข้อและชิดข้อ
(2) กรีดเปลือกต้นตอตามแนวตั้ง ยาวประมาณ  2  นิ้ว  แล้วเผยอเปลือกต้นตอที่กรีดไว้
(3) เลือกยอดพันธุ์ดีที่มีตายอดเต่ง พร้อมที่จะแตกเป็นยอดใหม่  ตัดยอดพันธุ์ดี ประมาณ  3  นิ้ว  แล้วเฉือนจากปลายไป โดยให้รอยแผลเป็นรูปปากฉลาม   ยาวประมาณ  2 – 2.5  นิ้ว  หรือเท่ากับรอยแผลของต้นตอ  จากนั้น ตัดปลายส่วนของด้านหลังของรอยแผลเฉียง ประมาณ 45  องศา เพื่อให้รับกับรอยแผลของต้นตอที่เตรียมไว้
(4) นำยอดกิ่งพันธุ์ดีมาสอดเข้ารอยแผลของต้นตอ  จัดให้รอยแผลสนิทกัน
(5) พันกิ่งให้แน่นด้วยแถบพลาสติก  โดยพันจากด้านล่างขึ้นบน
(6) ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์  หากยอดพันธุ์ดีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  แสดงว่ารอยแผลไม่เชื่อมประสานกัน  จึงแกะออกทิ้ง  แต่ถ้ายอดพันธุ์ยังเขียวดีอยู่ แสดงว่า ยังมีชีวิตอยู่  จึงแกะพลาสติกที่พันไว้ออก แล้วพันใหม่  โดยพันคร่อมยอดให้ยอดโผล่  เพื่อให้ตาเจริญออกมาได้  ถ้าหากฝนตก ควรกรีดพลาสติกด้านล่าง เพื่อให้น้ำซึมออกได้
(7) บากเตือนต้นตอ  โดยบากเหนือรอยแผลเล็กน้อย  บากลึกประมาณ 1 ใน 3 ของลำต้น  และเมื่อยอดใหม่เจริญดีแล้ว  จึงตัดยอดของต้นตอทิ้งไป  เพื่อให้ยอดกิ่งพันธุ์ดีเจริญ เป็นต้นใหม่แทน



การต่อกิ่ง

















No comments:

Post a Comment