Powered By Blogger

Monday, November 12, 2018

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ



             การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture) คือ การเพาะเลี้ยงพืช เฉพาะบางส่วนของพืชเพื่อให้ได้พืชชนิดนั้นทั้งต้น ทำให้มีขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมาก ทั้งที่พืชที่ถูกนำชิ้นส่วนมาขยายพันธุ์ต่อนั้นมีจำนวนน้อยต้น
โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture)เป็นการรวบรวมเทคนิคต่างๆมาใช้ในการดูแลรักษาและการเจริญเติบโต ของ เซลล์พืช หรือ เนื้อเยื่อพืช หรือ อวัยวะชิ้นส่วนของพืช ภายใต้สภาวะการปลอดเชื้อและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture)ชนิดนั้นๆ โดยใส่ไว้บนอาหารไว้สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture)เพื่อให้ได้พืชชนิดนั้นทั้งต้น ทั้งนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(Plant tissue culture)นี้มักใช้เพิ่มจำนวนพืชที่มีลักษณะเหมือนกันทางพันธุกรรมจำนวนมาก เช่น กล้วยไม้ที่เป็นพันธุ์พิเศษหายากหรือปรับปรุงพันธุ์ขึ้นเองเพื่อใช้ในการขายในประเทศหรือการส่งออกนอกประเทศ
ที่มา http://www.thaibiotech.info/what-is-plant-tissue-culture.php

https://www.youtube.com/watch?v=b5-MeV4rzmg
พืชที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาในเรื่องของการขยายพันธุ์ หรือพืชที่มีปัญหาเรื่องโรค เช่น ขิง กล้วยไม้ หรือพืชเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ ดาวเรือง ข้าว แครอท คาร์เนชั่น เยอร์บีร่า เป็นต้น

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีวิธีการทำ 5 ขั้นตอน ดังนี้
          1. การเตรียมอาหาร คือ การเตรียมอาหาร คือ การนำธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในการเจริญเติบโต และธาตุอาหารรองมาผสมกับวุ้น ฮอร์โมนพืช วิตามินและน้ำตาล ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำไปฆ่าเชื้อ ใส่ลงในขวดอาหารเลี้ยง บางครั้งอาจหยดสีลงไป เพื่อให้สวยงามและสังเกตได้ชัดเจน
               ธาตุอาหารที่พืชต้องการ
                    • ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม แคลเซียม แมกนีเซี่ยมและกำมะถัน
                    • ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุอาหารที่จำเป็นน้อย เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง
          2. การฟอกฆ่าเชื้อส่วนเนื้อเยื่อ  คือ เป็นวิธีการใช้สารเคมีหรือวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยง ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
          3. การนำเนื้อเยื่อลงขวดเลี้ยง  เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของพืชที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ว วางลงบนอาหารเลี้ยงที่ปลอดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือและปฏิบัติการในห้องหรือตู้ย้ายเนื้อเยื่อโดยเฉพาะ
          4. การนำขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปเลี้ยง  เป็นการนำเอาขวดอาหารเลี้ยงที่มีชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อไปเลี้ยงไว้บนเครื่องเขย่า เพื่อให้อากาศได้คลุกเคล้าลงไปในอาหาร ทำให้แร่ธาตุ, ฮอร์โมนและสารอาหารต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อที่นำมาเลี้ยงบนอาหารนั้น เกิดต้นอ่อนของพืชจำนวนมาก
          5. การย้ายเนื้อเยื่อออกจากขวด  เมื่อกลุ่มของต้นอ่อนเกิดขึ้น ให้แยกต้นอ่อนออกจากกัน เพื่อนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงใหม่ จนต้นอ่อนแข็งแรงดีแล้ว จึงนำต้นอ่อนที่สมบูรณ์ออกจากขวด ปลูกในแปลงเลี้ยงต่อไป


ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     1. เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว
     2. เพื่อการผลิตพืชที่ปราศจากโรค
     3. เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
     4. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน
     5. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ทนทาน
     6. เพื่อการผลิตยาหรือสารเคมีจากพืช
     7. เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืชมิให้สูญพันธุ์

พืชใกล้สูญพันธุ์
     คือ ขนุนไพศาลทักษิณ ซึ่งมีเหลืออยู่เพียงต้นเดียวในพระราชวังไพศาลทักษิร ตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อเก็บพันธุ์ไว้เผยแพร่ต่อไปโดยมองให้ Central LAB ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน กองทัพบกและสวนจิตรลดา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกัน เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/917


No comments:

Post a Comment