มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้มากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีแต่ละครั้งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่าง หน้าที่ประโยชน์ใช้สอย
ฯลฯ จากการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการที่ผ่านมา
พบว่าเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเริ่มตั้งแต่ระดับที่ง่าย ไม่ซับซ้อน
ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และความรู้สาขาต่าง ๆ
ช่วยให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นสูงขึ้นและซับซ้อนขึ้น
เทคโนโลยี มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน
เพราะมนุษย์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีพ เช่น การเพาะปลูก
การเลี้ยงสัตว์ การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย
การคิดประดิษฐ์เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม การผลิตและใช้ยารักษาโรค การคมนาคมขนส่ง
การค้าขาย การศึกษา การป้องกันประเทศ ในระยะแรก เทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่เรียกกันว่า
"เทคโนโลยีชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
แต่เนื่องจากอัตราการเพ่ิมขึ้นของประชากรและข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนลดลง
จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อให้สามารถผลิตปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนภายใต้เงื่อนไขของการอนุรักษ์
คือ การใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดแต่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่มากที่สุด
ระดับและสาขาของเทคโนโลยี
1.เทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน
ส่วนมากเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิมตั้งแต่ยุคโบราณเกิดขึ้นจากความจำเป็นในการยังชีพของชาวชนบทในท้องถิ่นมีการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้จากธรรมชาติโดยตรงตลอดจนใช้แรงงานในท้องถิ่น
มีการสืบทอดเทคโนโลยีต่อ ๆ กันมาพร้อมกับขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
ดังนั้นอาจเรียกเทคโนโลยีระดับต่ำว่าเป็นเทคโนโลยีท้องถิ่น (Traditional technology ) อันจัดเป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ
ซึ่งผู้ที่มีความสามารถในระดับต่ำจำเป็นต้องมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้น
ๆ อย่างถูกต้อง เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิต
แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีเข้าใจอย่างลึกซึ้งจนถึงระดับแก้ไข ดัดแปลง
เพียงแต่รู้หลักและวิธีการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นก็เพียงพอแล้ว ตัวอย่างเช่น
ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ครกตำข้าว ลอบดักปลา และกระต่ายขูดมะพร้าว เป็นต้น
2.เทคโนโลยีระดับกลาง
เกิดจากการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีระดับต่ำหรือเทคโนโลยีพื้นบ้านมาเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากยิ่งขึ้น
ผู้พัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นผู้มีความรู้ลึกซื้ง
เข้าใจระบบการทำงานและกลไลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถแก้ไขซ่อมแซมอุปกรณ์
เครื่องมือให้กลับสภาพดีดังเดิมได้
นอกจากนี้จะต้องมีประสบการณ์เข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามสมควร
นักพัฒนามีบทบาทอย่างมากในการใช้เทคโนโลยีระดับกลางในการเสริมความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้คนในท้องถิ่น
ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารโดยใช้ผลิตผลเหลือใช้จากการเกษตร
การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อม การถนอมอาหาร การสร้างอ่างเก็บน้ำ และเครื่องขูดมะพร้าวเป็นต้น
3.เทคโนโลยีระดับสูง
เป็นเทคโนโลยีที่ได้จากประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน
เพราะเป็นความสามารถในการปรับปรุงแก้ไข
ซึ่งนับเป็นความสามารถในระดับสูงกว่าการแก้ปัญหาหรือแก้ข้อขัดข้องของเทคโนโลยีต้องรู้จักดัดแปลงเทคโนโลยีเดิมให้มีคุณภาพดีขึ้นจนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เทคโนโลยีระดับสูงนั้นอาจจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาชั้นสูงมีการวิจัยทดลองอย่างสม่ำเสมอและมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ
เครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารกระป๋อง
การคัดเลือกพันธุ์สัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ กะทิสำเร็จรูป ยู เอช ที
และกะทิผง เป็นต้น
https://krusarayut.wordpress.com/
No comments:
Post a Comment