หลักการจัดอาหารสำรับ
การจัดอาหารสำรับแต่ละมื้อ
1. ควรจัดอาหารสำรับคาวและหวานให้มีอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ มีสัดส่วนที่เหมาะสม จัดอาหารให้หลากหลายหมุนเวียนเปลี่ยนไป
2. ควรจัดอาหารให้มีลักษณะสัมผัสหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น มีความนิ่มนุ่ม กรอบ ร้อน เย็น เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวสามารถเลือกรับประทานที่เหมาะกับร่างกาย
3.คำนึงถึง เพศ วัย และ และกิจกรรมของสมาชิกในแต่ละวัน
4. จัดรายการอาหารให้มีรสชาติ กลิ่น สี แตกต่างกันไป
5. คำนึงถึงงบประมาณ
6. จัดรายการอาหารสำรับให้เหมาะสมกับช่วงเวลา
การจัดอาหารสำรับแต่ละมื้อ
การจัดอาหารสำรับแต่ละมื้อที่เหมาะสม
ระบบย่อยอาหารในร่างกายของมนุษย์
จะใช้เวลาการย่อยและดูดซึมอาหารประมาณ 3-4 ชั่วโมง การแบ่ง ช่วงเวลาในการรับประทานอาหารออกเป็น
3 มื้อหลัก
คือ มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็นอาจเพิ่มอาหารระหว่างมื้อ
ซึ่งเรียกว่า "อาหารว่าง"
อาหารมื้อเช้า
เป็นมื้อแรกของแต่ละวันและเป็นมื้อสำคัญที่สุดอยู่ในช่วงเวลา 06.00 - 09.00 น. หรือช่วงเวลาที่เหมาะสม ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่ายมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น ข้าวต้มหมู ธัญพืชอบแห้ง รับประทานกับนมสด ควรเติมพลังงานและสารอาหารให้ร่างกาย ผู้ที่รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์จะมีประสิทธิภาพในการเรียนหนังสือหรือทำงานได้ดีกว่าผู้ที่ไม่รับประทาน
อาหารมื้อกลางวัน
จัดอยู่ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. นิยมรับประทานอาหารจานเดียวเพราะสะดวกรวดเร็ว พิจารณาอาหารที่ปรุงจากร้านที่สะอาด สุขอนามัยที่ดี เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย เช่นก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ข้าวคลุกกะปิ ข้าวผัดหมู ขนมจีนน้ำยา แต่ควรรับประทานผลไม้สด หรือขนมหวานเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และครบ 5 หมู่
อาหารมื้อเย็น
จัดอยู่ในช่วงเวลา 16.00 - 18.00 น. เป็นอาหารมื้อที่เรียกว่าพร้อมหน้าพร้อมตา แต่ในปัจจุบันอาจจะยาก เนื่องจากสมาชิกบางคนทำงานในช่วงเวลานี้ แต่หลายครอบครัวก็จัดอาหารที่เรียกว่า อาหารสำรับ ให้สมาชิกได้เลือกรับประทาน แต่บางครอบครัวก็รรับประทานนอกบ้าน อาหารมื้อนี้ถือได้ว่าร่างกายอาจต้องการปริมาณมาก ด้วยเวลาที่ผ่อนคลาย ไม่เร่งรีบ แต่การจัดอาหารก็ควรเลือกสรร ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักควรลดอาหารประเภทแป้งหรือไขมัน ไม่ควรงดการรับประทานอาหาร แต่ควรรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
อาหารว่าง
เป็นอาหารที่จัดขึ้นระหว่างอาหารมื้อหลัก รับประทานเพื่อรองท้องชะลออาการหิว เช่น ขนมปัง สาคู ปอเปี้ยะทอด ไม่จำเป็นต้องมีสารอาหารครบ 5 หมู่ อาจจัดเสิร์ฟพร้อมเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ชนิดต่างๆ เช่น น้ำผลไม้สด โกโก้ร้อนหรือเย็น น้ำสมุนไพร เป็นต้น
..................................................................
เป็นมื้อแรกของแต่ละวันและเป็นมื้อสำคัญที่สุดอยู่ในช่วงเวลา 06.00 - 09.00 น. หรือช่วงเวลาที่เหมาะสม ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่ายมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น ข้าวต้มหมู ธัญพืชอบแห้ง รับประทานกับนมสด ควรเติมพลังงานและสารอาหารให้ร่างกาย ผู้ที่รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์จะมีประสิทธิภาพในการเรียนหนังสือหรือทำงานได้ดีกว่าผู้ที่ไม่รับประทาน
อาหารมื้อกลางวัน
จัดอยู่ในช่วงเวลา 12.00-13.00 น. นิยมรับประทานอาหารจานเดียวเพราะสะดวกรวดเร็ว พิจารณาอาหารที่ปรุงจากร้านที่สะอาด สุขอนามัยที่ดี เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย เช่นก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ข้าวคลุกกะปิ ข้าวผัดหมู ขนมจีนน้ำยา แต่ควรรับประทานผลไม้สด หรือขนมหวานเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และครบ 5 หมู่
อาหารมื้อเย็น
จัดอยู่ในช่วงเวลา 16.00 - 18.00 น. เป็นอาหารมื้อที่เรียกว่าพร้อมหน้าพร้อมตา แต่ในปัจจุบันอาจจะยาก เนื่องจากสมาชิกบางคนทำงานในช่วงเวลานี้ แต่หลายครอบครัวก็จัดอาหารที่เรียกว่า อาหารสำรับ ให้สมาชิกได้เลือกรับประทาน แต่บางครอบครัวก็รรับประทานนอกบ้าน อาหารมื้อนี้ถือได้ว่าร่างกายอาจต้องการปริมาณมาก ด้วยเวลาที่ผ่อนคลาย ไม่เร่งรีบ แต่การจัดอาหารก็ควรเลือกสรร ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักควรลดอาหารประเภทแป้งหรือไขมัน ไม่ควรงดการรับประทานอาหาร แต่ควรรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน
อาหารว่าง
เป็นอาหารที่จัดขึ้นระหว่างอาหารมื้อหลัก รับประทานเพื่อรองท้องชะลออาการหิว เช่น ขนมปัง สาคู ปอเปี้ยะทอด ไม่จำเป็นต้องมีสารอาหารครบ 5 หมู่ อาจจัดเสิร์ฟพร้อมเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ชนิดต่างๆ เช่น น้ำผลไม้สด โกโก้ร้อนหรือเย็น น้ำสมุนไพร เป็นต้น
..................................................................
No comments:
Post a Comment