Powered By Blogger

Thursday, November 29, 2018

ใบงานเรื่องเทคโนโลยี

1. ให้นักเรียนจัดทำ mind mapping ระดับของเทคโนโลยี โดยจับคู่ และศึกษาเครื่องมือเครื่องใช้หรือนวัตกรรมทเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนามาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน


      2. ให้ร่างแบบเครื่องมือเครื่องใช้ที่จะทำ พร้อมตั้งชื่อชิ้นงาน โดยใช้วัสดุหลักเป็นไม้ 60% และบอกด้วยว่าชิ้นงานดังกล่าวใช้เครื่องมือช่างและอุปกรณ์อะไรบ้าง และต้องนำไปร่างแบบใน sketch up   และเตรียมที่บ้าน มา 50 % นำมาทำที่ โรงเรียน ในคาบหน้า อีก 50%   พร้อมนำเสนอผลงานหน้าชั้น และทำเอกสารประกอบชิ้นงาน
   เอกสารประกอบชิ้นงาน ส่ง สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนธันวาคม 2561
          1. แบบจาก sketch up ปริ้นใส่กระดาษเอ 4ตั้งชื่อชิ้นงาน
          2. ทำแผ่นพับ  โดย
          มีภาพสมาชิก พร้อมชิ้นงาน มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือช่าง ที่ใช้  มีวิธีทำ (ออกแบบแผ่นพับให้สวยงามเอง)
          ประโยชน์ของชิ้นงาน
          สิ่งที่สมาชิกได้รับจากการทำชิ้นงานนี้

http://www.naibann.com/


เรื่อง การออกแบบเทคโนโลยี




 มนุษย์ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้มากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีแต่ละครั้งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่าง หน้าที่ประโยชน์ใช้สอย ฯลฯ จากการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการที่ผ่านมา พบว่าเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเริ่มตั้งแต่ระดับที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์และความรู้สาขาต่าง ๆ ช่วยให้ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีนั้นสูงขึ้นและซับซ้อนขึ้น 


เทคโนโลยี มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เพราะมนุษย์ใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีพ เช่น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย การคิดประดิษฐ์เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม การผลิตและใช้ยารักษาโรค การคมนาคมขนส่ง การค้าขาย การศึกษา การป้องกันประเทศ ในระยะแรก เทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่เรียกกันว่า "เทคโนโลยีชาวบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่เนื่องจากอัตราการเพ่ิมขึ้นของประชากรและข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำนวนลดลง จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถผลิตปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตได้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนภายใต้เงื่อนไขของการอนุรักษ์ คือ การใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดแต่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่มากที่สุด

ระดับและสาขาของเทคโนโลยี
1.เทคโนโลยีระดับพื้นบ้าน
ส่วนมากเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แต่เดิมตั้งแต่ยุคโบราณเกิดขึ้นจากความจำเป็นในการยังชีพของชาวชนบทในท้องถิ่นมีการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ได้จากธรรมชาติโดยตรงตลอดจนใช้แรงงานในท้องถิ่น มีการสืบทอดเทคโนโลยีต่อ ๆ กันมาพร้อมกับขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ดังนั้นอาจเรียกเทคโนโลยีระดับต่ำว่าเป็นเทคโนโลยีท้องถิ่น (Traditional  technology ) อันจัดเป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ  ซึ่งผู้ที่มีความสามารถในระดับต่ำจำเป็นต้องมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้น ๆ อย่างถูกต้อง  เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิต แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีเข้าใจอย่างลึกซึ้งจนถึงระดับแก้ไข ดัดแปลง  เพียงแต่รู้หลักและวิธีการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นก็เพียงพอแล้ว ตัวอย่างเช่น ยาสมุนไพรพื้นบ้าน  ครกตำข้าว ลอบดักปลา และกระต่ายขูดมะพร้าว เป็นต้น
2.เทคโนโลยีระดับกลาง
เกิดจากการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีระดับต่ำหรือเทคโนโลยีพื้นบ้านมาเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากยิ่งขึ้น ผู้พัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นผู้มีความรู้ลึกซื้ง เข้าใจระบบการทำงานและกลไลต่าง ๆ  ตลอดจนสามารถแก้ไขซ่อมแซมอุปกรณ์ เครื่องมือให้กลับสภาพดีดังเดิมได้ นอกจากนี้จะต้องมีประสบการณ์เข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามสมควร  นักพัฒนามีบทบาทอย่างมากในการใช้เทคโนโลยีระดับกลางในการเสริมความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้คนในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารโดยใช้ผลิตผลเหลือใช้จากการเกษตร การปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาดินเสื่อม การถนอมอาหาร การสร้างอ่างเก็บน้ำ และเครื่องขูดมะพร้าวเป็นต้น
3.เทคโนโลยีระดับสูง
เป็นเทคโนโลยีที่ได้จากประสบการณ์อันยาวนาน มีความสลับซับซ้อน เพราะเป็นความสามารถในการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งนับเป็นความสามารถในระดับสูงกว่าการแก้ปัญหาหรือแก้ข้อขัดข้องของเทคโนโลยีต้องรู้จักดัดแปลงเทคโนโลยีเดิมให้มีคุณภาพดีขึ้นจนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เทคโนโลยีระดับสูงนั้นอาจจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ในสถาบันการศึกษาชั้นสูงมีการวิจัยทดลองอย่างสม่ำเสมอและมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ เครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ตัวอย่างเช่น การผลิตอาหารกระป๋อง การคัดเลือกพันธุ์สัตว์โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ  กะทิสำเร็จรูป ยู เอช ที และกะทิผง เป็นต้น
https://krusarayut.wordpress.com/


Monday, November 12, 2018

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ



             การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture) คือ การเพาะเลี้ยงพืช เฉพาะบางส่วนของพืชเพื่อให้ได้พืชชนิดนั้นทั้งต้น ทำให้มีขยายพันธุ์ให้ได้จำนวนมาก ทั้งที่พืชที่ถูกนำชิ้นส่วนมาขยายพันธุ์ต่อนั้นมีจำนวนน้อยต้น
โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture)เป็นการรวบรวมเทคนิคต่างๆมาใช้ในการดูแลรักษาและการเจริญเติบโต ของ เซลล์พืช หรือ เนื้อเยื่อพืช หรือ อวัยวะชิ้นส่วนของพืช ภายใต้สภาวะการปลอดเชื้อและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture)ชนิดนั้นๆ โดยใส่ไว้บนอาหารไว้สำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช (Plant tissue culture)เพื่อให้ได้พืชชนิดนั้นทั้งต้น ทั้งนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(Plant tissue culture)นี้มักใช้เพิ่มจำนวนพืชที่มีลักษณะเหมือนกันทางพันธุกรรมจำนวนมาก เช่น กล้วยไม้ที่เป็นพันธุ์พิเศษหายากหรือปรับปรุงพันธุ์ขึ้นเองเพื่อใช้ในการขายในประเทศหรือการส่งออกนอกประเทศ
ที่มา http://www.thaibiotech.info/what-is-plant-tissue-culture.php

https://www.youtube.com/watch?v=b5-MeV4rzmg
พืชที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ นิยมใช้กับพืชที่มีปัญหาในเรื่องของการขยายพันธุ์ หรือพืชที่มีปัญหาเรื่องโรค เช่น ขิง กล้วยไม้ หรือพืชเศรษฐกิจ เช่น กุหลาบ ดาวเรือง ข้าว แครอท คาร์เนชั่น เยอร์บีร่า เป็นต้น

ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมีวิธีการทำ 5 ขั้นตอน ดังนี้
          1. การเตรียมอาหาร คือ การเตรียมอาหาร คือ การนำธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการในการเจริญเติบโต และธาตุอาหารรองมาผสมกับวุ้น ฮอร์โมนพืช วิตามินและน้ำตาล ในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วนำไปฆ่าเชื้อ ใส่ลงในขวดอาหารเลี้ยง บางครั้งอาจหยดสีลงไป เพื่อให้สวยงามและสังเกตได้ชัดเจน
               ธาตุอาหารที่พืชต้องการ
                    • ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรตัสเซียม แคลเซียม แมกนีเซี่ยมและกำมะถัน
                    • ธาตุอาหารรอง ได้แก่ ธาตุอาหารที่จำเป็นน้อย เช่น เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง
          2. การฟอกฆ่าเชื้อส่วนเนื้อเยื่อ  คือ เป็นวิธีการใช้สารเคมีหรือวิธีการต่าง ๆ ที่ทำให้ชิ้นส่วนของพืชที่นำมาเลี้ยงในอาหารเลี้ยง ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ
          3. การนำเนื้อเยื่อลงขวดเลี้ยง  เป็นการนำเอาชิ้นส่วนของพืชที่ฟอกฆ่าเชื้อแล้ว วางลงบนอาหารเลี้ยงที่ปลอดเชื้อ โดยใช้เครื่องมือและปฏิบัติการในห้องหรือตู้ย้ายเนื้อเยื่อโดยเฉพาะ
          4. การนำขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปเลี้ยง  เป็นการนำเอาขวดอาหารเลี้ยงที่มีชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อไปเลี้ยงไว้บนเครื่องเขย่า เพื่อให้อากาศได้คลุกเคล้าลงไปในอาหาร ทำให้แร่ธาตุ, ฮอร์โมนและสารอาหารต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อที่นำมาเลี้ยงบนอาหารนั้น เกิดต้นอ่อนของพืชจำนวนมาก
          5. การย้ายเนื้อเยื่อออกจากขวด  เมื่อกลุ่มของต้นอ่อนเกิดขึ้น ให้แยกต้นอ่อนออกจากกัน เพื่อนำไปเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงใหม่ จนต้นอ่อนแข็งแรงดีแล้ว จึงนำต้นอ่อนที่สมบูรณ์ออกจากขวด ปลูกในแปลงเลี้ยงต่อไป


ประโยชน์ของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
     1. เพื่อการผลิตต้นพันธุ์พืชปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว
     2. เพื่อการผลิตพืชที่ปราศจากโรค
     3. เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
     4. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ต้านทาน
     5. เพื่อการผลิตพืชพันธุ์ทนทาน
     6. เพื่อการผลิตยาหรือสารเคมีจากพืช
     7. เพื่อการเก็บรักษาพันธุ์พืชมิให้สูญพันธุ์

พืชใกล้สูญพันธุ์
     คือ ขนุนไพศาลทักษิณ ซึ่งมีเหลืออยู่เพียงต้นเดียวในพระราชวังไพศาลทักษิร ตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อเก็บพันธุ์ไว้เผยแพร่ต่อไปโดยมองให้ Central LAB ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน กองทัพบกและสวนจิตรลดา เป็นผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกัน เป็นต้น
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/917


Sunday, November 11, 2018

ใบงานที่ 1



ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลความรู้จากBlogger นี้ เรื่องการขยายพันธ์ุพืชแบบไม่อาศัยเพศ
แล้วตอบคำถาม(ลอกโจทย์ให้เรียบร้อย) โดยเขียนลงสมุดและส่งภายในวันที่เรียน
ข้อ.1 การใช้ส่วนของกิ่ง ,ลำต้น,ราก หรือใบ นำมาตัดและชำลงในกระถาง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีใด

ข้อ.2 การที่ทำให้พืชเกิดรากบนกิ่งในขณะที่ยังอยู่บนต้นเดิมเมื่อกิ่งออกรากแล้วจึงตัดมาปลูก เป็นวิธีขยายพันธ์ุพืชวิธีใด

ข้อ.3 บอกขั้นตอนการทำจากวิธีข้อที่ 2

ข้อ.4 การนำเอาส่วนของตาต้นพันธุ์ดีไปติดกับต้นตอเมื่อเชื่อมประสานกันดีแล้ว ก็ตัดยอดต้นตอออก เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีใด

ข้อ.5 บอกขั้นตอนการทำจากวิธีข้อที่ 4

ข้อ.6 การตอนกิ่ง รากจะงอกระยะเวลากี่วัน

ข้อ.7 วิธีการขยายพันธ์ุพืชโดยกิ่งพันธุ์ดีจะทำหน้าที่เป็นลำต้นของต้นพืชต้นใหม่ ส่วนต้นตอจะทำหน้าที่เป็นระบบราก เพื่อให้อาหารให้กับต้นพันธ์ุดี เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชวิธีใด

ข้อ.8 จากวิดีโอที่ศึกษา มีวิธีการขยายพันธ์ุพืชวิธีใดบ้าง

ข้อ.9 พืชชนิดใดที่สามารถนิยมนำมาทาบกิ่ง

ข้อ.10 บอกอุปกรณ์การตอน


Tuesday, October 30, 2018

การขยายพันธ์ุพืชแบบไม่อาศัยเพศ


การขยายพันธ์ุพืชแบบไม่อาศัยเพศ  โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของพืช
       การขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเป็นการขยายพันธ์ุพืชแบบไม่อาศัยเพศ Asexual Propagation) ไม่ใช้เมล็ดแต่ใช้ส่วนอื่นของพืชแทน เช่น ส่วนราก ส่วนกิ่ง ส่วนใบ ดังนั้นต้นพืชที่ได้จากการขยายพันธ์ุแบบนี้จะให้ผลผลิตเหมือนพันธ์ุเดิม ไม่กลายพันธ์ุ
1. การตัดชำ (Cutting) ารทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดราก หลังจากที่ตัดกิ่งหรือต้นออกมาจากต้นแม่แล้ว การตัดชำเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชแบบหนึ่ง ซึ่งนิยมทำกับพืชประเภทไม้ดอกไม้ประดับ เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็อาจใช้กับการขยายพันธุ์ไม้ผลบ้างบางชนิด แบบต่างๆ ของการตัดชำ (types of cuttings) เราอาจจะใช้ส่วนต่างๆ ของต้นพืช นอกเหนือจากดอกหรือผลมาตัดชำได้ เช่น อาจจะใช้ต้น กิ่ง ราก หรือใบ ดังนั้นแบบของการตัดชำจึงขึ้นอยู่กับส่วนของพืช ที่จะนำมาตัดชำ ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะการตัดชำโดยใช้ต้นเท่านั้น


https://www.youtube.com/watch?v=fo7lNtgWUHM


2. การตอนกิ่ง (LAYERING) การตอนเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ เมื่อตัดไปปลูกจะได้ต้นพืชใหม่ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ แต่มีข้อเสียคือ ระบบรากของพืชไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากไม่มีระบบรากแก้ว
https://www.youtube.com/watch?v=egSO13uG4AI

3. การติดตา (BUDDING)
การติดตา เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่ใช้กิ่งพันธุ์ดีน้อย สะดวกรวดเร็ว และสามารถนำกิ่งพันธุ์ดีจากแหล่งหนึ่งไปทำการติดตาอีกแหล่งหนึ่งได้ แต่อาจต้องใช้เวลาในการบังคับและเลี้ยงตาใหม่ให้เป็นต้นพืชนานกว่าการทาบกิ่ง ผู้ที่จะทำการขยายพันธุ์ด้วยการติดตาได้ต้องอาศัยความชำนาญและประมาณจึงจะได้ผลดี 


https://www.youtube.com/watch?v=DiKrIzBaJCY


https://www.youtube.com/watch?v=dFv-rAc1-BU



4. การทาบกิ่ง (GRAFTING) การทาบกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ให้ได้ต้นพันธุ์ที่ให้ได้ต้นพันธุ์ดีซึ่งมีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่วิธีหนึ่ง โดยกิ่งพันธุ์ดีจะทำหน้าที่เป็นลำต้นของต้นพืชใหม่ ส่วนต้นตอที่นำมาทาบติดกับกิ่งของต้นพันธุ์ดีจะทำหน้าที่เป็นระบบราก เพื่อหาอาหารให้กับต้นพันธุ์ดี 
https://www.youtube.com/watch?v=QqkqLSIXrJ4



https://www.youtube.com/watch?v=hopM7QX7P4g


ที่มาของเนื้อหา: https://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/17/nk17k8.htm


5.การต่อกิ่ง (GRAFTING)

การต่อกิ่ง  เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศที่สามารถทำได้โดยการนำกิ่งพันธุ์ดีที่มีตามากกว่า  1  ตา มาต่อบนต้นตอ เพื่อให้เนื้อเยื่อเจริญทั้งสอง เชื่อมประสานเป็นต้นเดียวกัน  การขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่อกิ่ง จะดีกว่าการติดตามาก เพราะจะได้รอยต่อที่แข็งแรงกว่ามาก การต่อกิ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลาย และได้ผลดีกับพืชบางชนิด  เช่น  เฟื่องฟ้า  ชบา  โกสน  เล็บครุฑ  มะม่วง พุทรา ขนุน องุ่น  ฯลฯ
ความมุ่งหมายที่สำคัญของต่อการกิ่งพืช คือ เพื่อต้องการเชื่อมประสานเนื้อเยื่อของพืชที่เป็นต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเข้าด้วยกัน ให้มีชีวิตและเจริญเติบโตร่วมกัน เสมือนเป็นพืชต้นเดียวกัน  ทั้งนี้  การต่อกิ่งพืช สามารถเลือกทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช  ฤดูกาลและความชำนาญของผู้ต่อกิ่ง
การต่อกิ่งมีคุณค่าและความสำคัญต่อวงการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผลมาก ซึ่งเห็นได้ชัดเจน  ได้แก่ การเพิ่มและช่วยเปลี่ยนยอดพันธุ์เดิมที่ปลูกอยู่แล้ว ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น  เช่น  การเพิ่มยอดกิ่งเฟื่องฟ้าให้มีหลากหลายสี การเปลี่ยนยอดต้นโมกเขียวให้เป็นโมกด่าง   การเปลี่ยนยอดมะม่วงให้เป็นมะม่วงแฟนซี คือมีหลายพันธุ์ในต้นเดียวกัน  นอกจากนี้ การต่อกิ่ง ยังเป็นการช่วยซ่อมแซมส่วนของต้นพืชที่ได้รับอันตรายจากธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ   รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากต้นตอที่มีลักษณะทนทานต่อสภาพแวดล้อมและศัตรูพืช
 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการต่อกิ่ง 
1) พืชที่นำมาเสียบเข้าด้วยกันต้องเป็นพืชตระกูลเดียวกัน แต่อาจต่างพันธุ์กันได้
2) กิ่งพันธุ์ดีจะต้องมีความสดอยู่เสมอ  ซึ่งควรเก็บรักษาไว้ในห้องเย็น
3) รอยแผลที่ทำการเสียบจะต้องแนบกันสนิทให้เนื้อเยื่อเจริญของพืชทั้งสองส่วนสัมผัสกันมากที่สุด เพื่อจะได้เชื่อมประสานกันได้รวดเร็ว
4) เลือกตาพันธุ์ที่กำลังพักตัว คือ พร้อมที่จะแตกยอดใหม่
5) ใช้แถบพลาสติกพันทับรอยเชื่อม ไม่ให้น้ำและเชื้อโรคเข้าได้
6) รอยแผลจะต้องรักษาความสะอาดให้มากที่สุด    ระวังอย่าให้สัมผัสน้ำหรือความชื้น มากเกินไป
7) ลิดใบพันธุ์ดีทิ้ง และใช้พลาสติกคลุม ป้องกันการคายน้ำ และรักษาความชื้น
ข้อควรพิจารณาในการต่อกิ่ง    ได้แก่
1) การเลือกต้นตอ  จะต้องให้มีขนาดเหมาะสมกับกิ่งพันธุ์ดี  มีความแข็งแรงปราศจากศัตรูพืช  มีระบบรากแข็งแรง และหาง่าย ราคาถูก
2) การเลือกกิ่งพันธุ์  ควรเป็นกิ่งที่สมบูรณ์  แข็งแรง มีตา ที่ไม่ใช่ตาดอก โดยปกติ ส่วนมากจะเลือกกิ่งที่มีอายุ  1  ปี หรือน้อยกว่า
3) การเตรียมต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี  ในการเฉือนแผลต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี  ควรจะให้รอยแผลเรียบ และไม่ช้ำ (เกิดจากการผ่าหรือเฉือนหลายครั้ง จึงต้องมีความชำนาญในการเฉือนเพียงครั้งเดียวเท่านั้นเพื่อไม่ให้ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีช้ำ)
4) การป้องกันเชื้อโรค  การทำให้เกิดบาดแผลแก่ต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี เป็นช่องทางที่ทำให้เกิดเชื้อโรค จึงต้องระวังในเรื่องของความสะอาดโดยเฉพาะ มีดต้องสะอาดและคม
5) การวางแนวเยื่อเจริญระหว่างต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ต้องอยู่ในแนวเดียวกันเพื่อให้รอยประสานเกิดได้เร็วขึ้น
6) การบังคับให้กิ่งพันธุ์ดีเติบโต ภายหลังต่อกิ่ง  จะต้องทำการบังคับ เพื่อป้องกันการลำเลียงออกซิเจนจากกิ่งยอด ลงมายังกิ่งข้าง ทำให้เกิดลักษณะที่ตายอด ข่มตาข้าง โดยการบากเหนือรอยต่อให้ลึกถึงเนื้อไม้
7) ฤดูกาลที่เหมาะสำหรับต่อกิ่ง ควรเป็นระยะที่พืชมีเจริญเติบโตดี  โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว  รองลงมา คือ กลางฤดูฝน

 เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อกิ่ง
1)  ส่วนของพืชที่จะขยายพันธุ์ คือ กิ่งพันธุ์ดี
2)  ส่วนของพืชที่เป็นระบบราก คือ ต้นตอ
3)  มีดขยายพันธุ์หรือคัตเตอร์  กรรไกรตัดแต่งกิ่ง  พลาสติกพันกิ่ง
4)  วัสดุที่ใช้ในการคลุมกิ่ง เช่น เชือก ถุงพลาสติกขนาดเล็ก ถุงกระดาษคลุมกิ่ง

วิธีการต่อกิ่งที่นิยม   วิธีการต่อกิ่งมีหลากหลายรูปแบบ  ซึ่งแต่ละวิธีมีความเหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน  แต่ที่ชาวสวนหรือผู้ประกอบการผลิตพันธุ์ไม้ปฏิบัติมาก เพราะสามารถทำได้ง่ายและได้รับความสำเร็จสูง โดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ และไม้ผล  วิธีที่นิยม  ได้แก่
1) การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม
2) การต่อกิ่งแบบฝานบวบ
3) การต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น
4) การต่อกิ่งเสียบข้าง
5) การต่อกิ่งเสียบเปลือก     

1) การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม  พันธุ์ไม้ที่นิยม เช่น เฟื่องฟ้า โกสน น้อยหน่า ทับทิม มีขั้นตอน  ดังนี้

   (1) ตัดยอดต้นตอที่แตกใหม่ ให้เหลือยาวประมาณ นิ้ว แล้วผ่ากลางกิ่งพืชที่ต้องการเสียบยอด ให้ลึกประมาณ นิ้ว
   (2) เฉือนยอดพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่ม ยาวประมาณ นิ้ว
   (3) เสียบยอดพันธุ์ดีลงในแผลของต้นตอ ให้รอยแผลทั้งสองตรงกัน แล้วใช้เชือกมัดด้านบนและล่างรอยแผลต้นตอให้แน่น
   (4) คลุมต้นที่เสียบยอดแล้วด้วยถุงพลาสติกหรือนำไปเก็บในโรงอบพลาสติก (ถ้าต้นพืชที่ทำการเสียบยอดอยู่กลางแจ้งควรใช้ถุงกระดาษเล็กหุ้มก่อน เพื่อป้องกันความร้อน)
   (5) ประมาณ 5-7 สัปดาห์รอยแผลจะประสานกันดีแล้วให้นำออกมาพักไว้ในโรงเรือนที่รอการปลูกต่อไป

2) การต่อกิ่งแบบฝานบวบ  พันธุ์ไม้ที่นิยม  ได้แก่ประเภทไม้อวบน้ำ และไม้เนื้ออ่อน  เช่น  ฤาษีผสม  แค็คตัสชนิดต่าง ๆ    มะเขือเทศ  ฟักทอง  มะละกอ  แตงชนิดต่าง ๆ  เป็นต้น 

มีขั้นตอน  ดังนี้
(1) เฉือนต้นตอให้เฉียงขึ้น เป็นลักษณะเช่นเดียวกับฝานบวบ  ให้ความยาวของรอยเฉือน  ประมาณ  1 – 1.5  นิ้ว  รอยแผลที่ได้จะมีลักษณะคล้ายโล่
(2) เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับต้นตอ  แต่เฉือนลง (ตรงข้ามกับต้นตอ)
(3) นำกิ่งพันธุ์ดี ประกบเข้ากับต้นตอ  โดยให้รอยแผลประกบกันให้สนิท
(4) ใช้แถบพลาสติกพันรอบรอยแผลให้แน่น  โดยพันจากด้านล่างขึ้นสู่ด้านบน
(5) หลังจากกิ่งเชื่อมประสานกันดีแล้ว  ให้แกะพลาสติกออก เพื่อให้ต้นพืชเจริญเติบโตและขยายออกได้เต็มที่

3) การต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น    นิยมต่อกิ่งกับพันธุ์ไม้ประเภทอวบน้ำและเนื้ออ่อน เช่นเดียวกับการต่อกิ่งแบบฝานบวบ 

มีขั้นตอน  ดังนี้
(1) เฉือนต้นตอเฉียงขึ้นในลักษณะการฝานบวบ  ให้รอยแผลยาวประมาณ 1 – 1.5  นิ้ว
(2) ผ่ารอยแผลให้มีลักษณะเป็นลิ้น
(3) เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉียงลง  ลักษณะและขนาดรอยแผลเช่นเดียวกับต้นตอ
(4) ผ่ารอยแผลกิ่งพันธุ์ดี ให้มีลักษณะเป็นลิ้น
(5) นำกิ่งพันธุ์ดี สวมลงบนต้นตอให้ลิ้นขัดกัน
(6) ใช้คลิปหนีบหรือพันด้วยพลาสติก
(7) หลังจากรอยแผลของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี ประสานเชื่อมติดกันสนิทแล้ว (ประมาณ เดือน)  หลังจากต่อกิ่ง  ให้เอาคลิปหรือแกะพลาสติกออก 

4) การต่อกิ่งเสียบข้าง  พืชที่นิยมทำได้แก่ไม้ดอกไม้ประดับ  เช่น  โกสน  เล็บครุฑ  สนชนิดต่าง ๆ   โป๊ยเซียน   ฯลฯ  และไม้ผล  เช่น  ขนุน  กระท้อน  ฯลฯ   

มีขั้นตอน  ดังนี้
(1) เฉือนต้นตอจากปลายไปสู่โคน  โดยเฉือนลึกเข้าไปในเนื้อไม้เล็กน้อย  ให้แผลยาวประมาณ  1.5 – 2  นิ้ว
(2) ตัดยอดกิ่งพันธุ์ดี ยาวประมาณ  2 – 3 นิ้ว  เฉือนให้เป็นรูปปากฉลาม  รอยแผลยาวประมาณ  1.5 – 2  นิ้ว  เฉือนด้านหลังของรอยแผล เพื่อให้แผลมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม
(3) นำยอดกิ่งพันธุ์ดี เสียบเข้ารอยแผลของต้นตอ  จัดให้รอยแผลแนบสนิทกัน  โดยจัดให้ส่วนของเนื้อเยื่อเจริญของกิ่งพันธุ์ดีและต้นตอตรงกัน
(4) พันด้วยพลาสติก หุ้มรอยแผลให้แน่น  โดนพันจากล่างขึ้นบน
(5) ประมาณ  2 – 3 สัปดาห์  จึงแกะพลาสติกออก แล้วพันใหม่  โดยเว้นส่วนของยอดกิ่งพันธุ์ดีไว้ เพื่อให้ตาแตกยอดใหม่ออกมาได้
(6) หลังจากกิ่งใหม่เจริญดีแล้ว  จึงตัดยอดเดิมของต้นตอทิ้งไป เพื่อให้ยอดใหม่เจริญได้เต็มที่

5) การต่อกิ่งเสียบเปลือก พันธุ์ไม้ที่นิยมส่วนมากเป็นไม้ผลที่มีเปลือกหนา ล่อน และลอกเปลือกได้ง่าย   ได้แก่  มะม่วง  ขนุน  กระท้อน

มีขั้นตอน  ดังนี้
(1) ตัดต้นตอ ตั้งฉากกับกิ่งบริเวณใต้ข้อและชิดข้อ
(2) กรีดเปลือกต้นตอตามแนวตั้ง ยาวประมาณ  2  นิ้ว  แล้วเผยอเปลือกต้นตอที่กรีดไว้
(3) เลือกยอดพันธุ์ดีที่มีตายอดเต่ง พร้อมที่จะแตกเป็นยอดใหม่  ตัดยอดพันธุ์ดี ประมาณ  3  นิ้ว  แล้วเฉือนจากปลายไป โดยให้รอยแผลเป็นรูปปากฉลาม   ยาวประมาณ  2 – 2.5  นิ้ว  หรือเท่ากับรอยแผลของต้นตอ  จากนั้น ตัดปลายส่วนของด้านหลังของรอยแผลเฉียง ประมาณ 45  องศา เพื่อให้รับกับรอยแผลของต้นตอที่เตรียมไว้
(4) นำยอดกิ่งพันธุ์ดีมาสอดเข้ารอยแผลของต้นตอ  จัดให้รอยแผลสนิทกัน
(5) พันกิ่งให้แน่นด้วยแถบพลาสติก  โดยพันจากด้านล่างขึ้นบน
(6) ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์  หากยอดพันธุ์ดีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล  แสดงว่ารอยแผลไม่เชื่อมประสานกัน  จึงแกะออกทิ้ง  แต่ถ้ายอดพันธุ์ยังเขียวดีอยู่ แสดงว่า ยังมีชีวิตอยู่  จึงแกะพลาสติกที่พันไว้ออก แล้วพันใหม่  โดยพันคร่อมยอดให้ยอดโผล่  เพื่อให้ตาเจริญออกมาได้  ถ้าหากฝนตก ควรกรีดพลาสติกด้านล่าง เพื่อให้น้ำซึมออกได้
(7) บากเตือนต้นตอ  โดยบากเหนือรอยแผลเล็กน้อย  บากลึกประมาณ 1 ใน 3 ของลำต้น  และเมื่อยอดใหม่เจริญดีแล้ว  จึงตัดยอดของต้นตอทิ้งไป  เพื่อให้ยอดกิ่งพันธุ์ดีเจริญ เป็นต้นใหม่แทน



การต่อกิ่ง

















Monday, October 29, 2018

การขยายพันธุ์พืชแบบอาศัยเพศ

การเพาะเมล็ด

ในการขยายพันธุ์พืช หรือปลูกพืชโดยใช้เมล็ด โดยทั่วไปมักจัดทำกันอยู่ ๓ แบบ คือ

1. เพาะเมล็ดในแปลงเพาะ หรือในภาชนะเพาะ
2. เพาะหรือปลูกเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง
3. เพาะหรือปลูกเมล็ดในภาชนะเดี่ยว
1. การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะหรือในภาชนะเพาะ การปลูกพืชหรือเพาะเมล็ดโดยวิธีนี้ เป็นการเตรียมกล้าพืช เพื่อใช้ปลูกก่อนที่จะปลูกในแปลง หรือในกระถางถาวร โดยเพาะเมล็ดในเนื้อที่แคบๆ จนกระทั่งต้นพืชที่เพาะ หรือที่เรียกว่า "กล้า" หรือ"เบี้ย" มีขนาดโตพอจึงถอนย้ายไปปลูก วิธีปลูกพืชโดยการเพาะเมล็ดก่อนนี้ เหมาะสำหรับเมล็ดพืชที่มีราคาแพง เนื่องจากการเพาะทำในเนื้อที่ไม่มาก เมล็ดมีโอกาสสูญเสียน้อย เพราะสามารถดูแลได้ทั่วถึง วิธีการนี้มักจะใช้กับพืชสวนผัก หรือไม้ดอกล้มลุก รวมทั้งไม้พุ่ม หรือไม้ยืนต้นที่เมล็ดมีขนาดเล็ก หรือเจริญเติบโตช้า ได้แก่ การปลูก หรือเพาะเมล็ดพืช จำพวกมะเขือเทศ กะหล่ำดอก แอสเทอร์ พิทูเนีย ฝ้ายคำ ปาล์มขวด เป็นต้น ส่วนวิธีการเพาะเมล็ดนั้นอาจแบ่งออกเป็น ๒ แบบตามขนาด และความเหมาะสมในการปฏิบัติ คือ การเพาะเมล็ดในภาชนะเพาะ และการเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ


2. การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ ส่วนมากเป็น การเพาะเมล็ดในฤดูกาลตามปกติ ซึ่งมีดินฟ้าอากาศอำนวย ฉะนั้นงานใดที่ต้องใช้กล้าจำนวนมากๆ จึงมักจะใช้การเพาะเมล็ดโดยวิธีนี้ ความสำเร็จของ การเพาะเมล็ดในแปลงเพาะส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่ กับการเลือกสภาพพื้นที่ และวิธีการเตรียมแปลง ส่วนการดูแลรักษาต้นกล้านั้น ทำได้ง่ายในฤดูนี้
ข้อดี
๑. ทำได้ง่ายและได้ปริมาณมาก เพราะสะดวกในการปฏิบัติ
๒. เสียค่าใช้จ่ายน้อยเพราะไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตลอดจนฝีมือในการปฏิบัติมากนัก
๓. สะดวกในการขนส่งระยะทางไกลๆ เพราะทนทานและตายยาก ประกอบกับมีขนาดเล็ก จึงสะดวกที่จะบรรจุหีบห่อหรือหยิบยก
๔. เก็บรักษาได้นาน เพราะไม่ต้องการสิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิตมาก เพียงแต่เก็บให้ถูกต้องเท่านั้น
๕. ได้ต้นพืชที่มีระบบรากดี เพราะมีรากแก้ว ดังนั้นจึงมีรากหยั่งลึก และการที่ต้นพืชมีรากลึกนี้ ย่อมมีผลทำให้
ก. ทนแล้งได้ดี เพราะสามารถดูดน้ำจากดินในระดับลึกๆ ได้
ข. หากินเก่ง เพราะอาจหาธาตุอาหารต่างๆ จากดินทั้งตามผิวหน้าดินและส่วนลึกได้อย่างครบถ้วน โอกาสที่จะขาดธาตุอาหารจึงมีน้อย
ค. ต้นพืชเจริญเติบโตดี เพราะมีอาหารพืชสมบูรณ์
ง. อายุยืน ซึ่งเป็นผลมาจากมีอาหารสมบูรณ์ ฉะนั้นจึงทนทานต่อแมลงได้ดี ต้นไม่ทรุดโทรมเร็ว และมีอายุการให้ผลยืนนาน
๖. ต้นพืชที่ได้ไม่ติดโรคไวรัส (virus) จากต้นแม่ โดยที่เชื้อไวรัสไม่อาจจะถ่ายทอดจากต้นแม่มายังลูก โดยอาศัยเมล็ดเป็นพาหะได้ ดังนั้นต้นลูกที่ได้จากการเพาะเมล็ดจากต้นที่เป็นโรคไวรัสจึงไม่ติดโรคนี้ แต่ก็อาจติดโรคนี้ได้ภายหลังที่งอกเป็นต้นพืชแล้ว


ข้อเสีย
๑. กลายพันธุ์ได้ง่าย เพราะต้นที่ได้เกิดจากการผสมพันธุ์ เว้นแต่เมล็ดพืชบางชนิดที่งอกได้ หลายต้นใน ๑ เมล็ด ซึ่งอาจจะมีต้นที่ไม่กลายพันธุ์ได้
๒. ลำต้นสูงใหญ่ ไม่สะดวกในการเก็บเกี่ยวและดูแลรักษา
๓. ต้นมีโอกาสรับแรงปะทะลมได้มาก ทำให้ดอกและผลร่วงหล่นเสียหายมาก
๔. มักให้ผลช้า ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงดูนาน กว่าจะให้ผลตอบแทน
๕. ปลูกได้น้อยต้นในเนื้อที่เท่ากัน ฉะนั้น จึงอาจให้ผลน้อยกว่าการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่นที่ให้ต้นพืชพุ่มเล็กกว่า


เทคนิคการเพาะต้นกล้าผัก แบบรอด 100%


ขอบคุณ https://www.youtube.com/watch?v=syp1QsiuEZY


วิธีเพาะคะน้าวันเดียวงอก



ขอบคุณhttps://www.youtube.com/watch?v=PCsyQdUX2lY

วิธีการขยายพันธ์ุพืช

                 
 การขยายพันธุ์พืชแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ 

              1. การขยายพันธุ์พืชโดยอาศัยเพศ 
              2. การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัยเพศ หรือใช้ส่วนต่างๆของต้น  
              http://thaigoodview.com/node/95643


ปัจจัยการขยายพันธุ์พืช
                          1.  สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น อากาศ ความชื้น อุณหภูมิ
                         2.  เครื่องมือที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน
                         3.  เมล็ดพืช กิ่งพันธุ์ และต้นตอ  สะอาด ปราศจากโรค และแมลง เป็นพันธุ์ที่ดี แข็งแรง  และเก็บไว้ไม่เกิน 1 ปี
                        4.  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช เช่น ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าว  ขี้เถ้าแกลบ ดิน ทรายหยาบ ถุงพลาสติกใส เทป                        พลาสติกสำหรับพันกิ่ง เชือกฟาง ตะกร้า และถาดสำหรับเพาะเมล็ด ปราศจากเชื้อรา

วิธีการขยายพันธุ์พืช
1. การขยายพันธ์ุพืชโดยอาศัยเพศ  ได้แก่ การเพาะเมล็ด
2. การขยายพันธ์ุพืชโดยไม่อาศัยเพศ ได้แก่
1. การตอนกิ่ง  คือ  การทำให้ส่วนของพืชเกิดรากในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่ คือ ทำให้เกิดรากพิเศษ  (adventitious roots)  เมื่อกิ่งออกรากดีแล้วก็ตัดไปปลูก ต้นพืชที่ปลูกและตั้งตัวได้ดีแล้ว จะกลายเป็นต้นพืชต้นใหม่ต่อไป สำหรับการตอนกิ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์ไม้ผลวิธีการหนึ่งที่นิยมทำกันมากเพราะสามารถกระทำได้โดยง่าย สะดวก และใช้อุปกรณ์น้อย

2.  การตัดชำ คือ การตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น ใบ หรือรากของพืช แล้วนำมาชำไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดรากและยอด และพัฒนาเป็นพืชต้นใหม่ โดย
ที่ต้นใหม่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ

3.การต่อกิ่งหรือการเสียบกิ่งคือการสอดส่วนของพืชหรือกิ่งพืชต้นหนึ่งลงบนต้นพืชอีกต้นหนึ่ง และส่วนทั้งสองของพืชจะเชื่อมประสานติดต่อกัน และเจริญไปเป็นพืชต้นใหม่ โดยส่วนที่อยู่ใต้รอยต่อจะทำหน้าที่เป็นรากดูดน้ำ และแร่ธาตุอาหาร เรียกว่า ต้นตอ  (rootstock, understock, stock)  และส่วนที่อยู่เหนือรอยต่อจะทำหน้าที่เป็นกิ่งก้านสาขาที่ให้ดอกและผลเร็วกว่ากิ่งพันธุ์ดี  (Scion or cion)

4. การติดตาการนำเอาตาของกิ่งพันธุ์ที่ดีเพียงตาเดียวมาติดบนต้นตอ แผ่นตาอาจจะลอกเนื้อไม้ออกหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดพืช และวิธีการติดตา อาจเรียกการติดตาว่าการต่อตา  (bud grafting)

5.การทาบกิ่ง  คือ การนำต้นพืชสองต้น ซึ่งต่างก็ยังมีรากเหมือนกัน มาทำการเชื่อมติดเป็นต้นเดียว หลังจากที่รอยต่อเชื่อมกันสนิทดีและต้นตอมีรากในปริมาณที่มากพอจึงตัดกิ่งลงมาชำ

6.การแยก  (Separation)  คือ การแยกส่วนของพืชออกจากกัน เช่น การแยกหัวของหอมแบ่ง หรือการแยกกระจุกหัวของแกลดิโอลัส  ส่วนการแบ่ง  (Division)  คือ การตัดออกเป็นชิ้นๆ แต่ละชิ้นมีตาซึ่งจะทำให้กำเนิดเป็นพืชต้นใหม่ขึ้น  เช่น มันฝรั่ง  เป็นต้น









1




Sunday, October 28, 2018


กิจกรรมที่ 1 เรื่องการขยายพันธ์ุพืช

ให้นักเรียนปฏิบัติการขยายพันธ์ุพืช 1 วิธี (จากการจับฉลาก ) โดยแบ่งกลุ่มละ 4 คน และไปดำเนินการโดยทำเป็นคลิปวิดีโอ นำเสนอ 1.วิธีการที่ทำ  ..........  2. วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม  3. วิธีการปฏิบัติ 4.การดูแลรักษา และระยะเวลาที่รากจะงอก  อธิบายลงวิดีโอ พร้อมใส่ชื่อ ชั้น เลขที่  ของสมาชิกให้ครบ
โพสต์หน้าเฟสตัวเอง #ส่งงานครูนีเรื่องการขยายพันธุ์พืช  แท็ก kruneena iamsombut
หรือหน้าเฟสครู  kruneena  iamsombut






เรื่องการขยายพันธ์ุพืช




หน่วยที่ 1 การขยายพันธ์ุพืช

การขยายพันธ์ุพืช แบ่งได้ 2 แบบ คือ การขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ ได้แก่ การขยายพันธ์ุโดยการใช้เมล็ด และการขยายพันธ์ุพืชแบบไม่อาศัยเพศ ได้แก่ การขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช เช่น การปักชำ การตอนกิ่ง การต่อกิ่ง การติดตา การทาบกิ่ง และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น

การขยายพันธุ์พืช หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณต้นพืชให้มากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงสายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ไว้มิให้สูญพันธุ์ เป็นการกระจายพันธุ์พืชพันธุ์ดีเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ทั้งนี้รวมถึงการผลิตต้นพันธุ์พืชพันธุ์ดีชนิดต่าง ๆ เป็นการค้าด้วในอดีตการขยายพันธุ์พืชสวนใหญ่มักจะใช้วิธีการเพาะเมล็ดเป็นหลัก ซึ่งทำให้ต้นพืชที่เกิดขึ้นใหม่มีลักษณะผันแปรไม่ค่อยเหมือนกับต้นแม่ แต่ก็มีพืชบางชนิดที่ใช้วิธีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดแล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางสายพันธุ์ เช่น มังคุด นอกจากจะพบการเปลี่ยนแปลงทางสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นกับต้นพืชที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดแล้ว ยังพบว่าต้นพืชที่ได้จากการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเมล็ดจะให้ผลช้าและมีลักษณะสูงใหญ่ ทำให้เกิดการยุ่งยากในการเก็บเกี่ยวและปฏิบัติดูแลรักษา ในปัจจุบันเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ ในการปลูกพืชได้มีการพัฒนาและก้าวหน้าไปมากจึงได้เปลี่ยนวิธีขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเมล็ดมาใช้วิธีการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศแทน ได้แก่ การตอน การติดตา การต่อกิ่ง การทาบกิ่ง การชำ ฯลฯ ส่วนการขยายพันธุ์พืชแบบวิธีเพาะเมล็ดก็ยังคงใช้อยู่แต่ใช้เฉพาะบางวัตถุประสงค์เท่านั้น เช่น การเพาะเมล็ดเพื่อให้ได้ต้นพืชใหม่นำมาใช้เป็นต้นตอในการขยายพันธุ์ แบบติดตา ทาบกิ่ง ต่อกิ่ง รวมทั้งเพื่อขยายพันธุ์พืชบางชนิดที่ไม่สามารถใช้วิธีการขยายพันธุ์ไม่ใช่เพศได้หรือใช้ได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร เช่น มะพร้าว หมาก มังคุด อย่างไรก็ตามในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในต้นพืชที่ได้จากการเพาะเมล็ด ในบางครั้งอาจจะพบลักษณะที่ดีกว่าแม่พันธุ์เดิมซึ่งเป็นวิธีที่นำมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ อีกด้วย





ขอบคุณ https://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/17/nk17k1.htm

Wednesday, August 15, 2018


กิจกรรมที่ 1 เรื่องอาหารและการเลือกซื้อวัตถุดิบ







ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า การเลือกซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารจานคุณภาพ 
โดยถ่ายคลิปวิดีโอแสดงถึง "หลักการเลือกซื้อ"  ตามส่วนผสม วัตถุดิบของรายการอาหารในเมนูที่ตนเองได้  ในการจัดทำคลิปวิดีโอนั้น ให้มีพิธีกรดำเนินรายการ 1-2 คน  แนะนำสมาชิก   มีคำพูด "วิดิโอนี้ประกอบการเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 
ครูผู้สอน ครูวรรณภา เอี่ยมสมบัติ "  ซึ่งรูปแบบคลิปให้นักเรียนฟรีสไตล์ได้เลยค่ะ 
การส่งงาน  1. ก่อนถ่ายทำให้ส่งชื่อเมนูและชื่อสมาชิก (ชื่อ เลขที่ ชั้น) ในช่องคอมเม้น
             2. เมื่อคลิปการเลือกซื้อเสร็จแล้วให้ส่งลิ้งมาในคอมเม้นพร้อมชื่อกลุ่ม(เมนู และชื่อสมาชิกอีกรอบ ชื่อ เลขที่ ชั้น)

ให้นักเรียนดูเมนูอาหารของแต่ละห้องได้ใน   https://www.facebook.com/kruneeclassroom/